วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

สรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

ชื่อ นางสาวฑิตฐิตา  สกุล ทองน้อย เลขที่ 26ห้อง 5/9
กลุ่มที่  4
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา ปัญหารถติด
ที่มาและความสำคัญของปัญหา

                 ผู้บริหารประเทศในอดีต ขาดวิสัยทัศน์อันยาวไกล และไม่ใส่ใจความเป็นอยู่ของประชาชน จึงไม่ได้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้เท่าทันกับการเจริญเติบโตของบ้านเมือง ทำให้ปัญหาจราจรเกิดขึ้น และค่อยๆก่อตัวสะสมปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความล้มเหลวของระบบขนส่งมวลชนที่ผ่านมา เป็นสาเหตุสำคัญที่บีบบังคับให้คนกรุงเทพฯ ต้องดิ้นรนหารถส่วนตัวเพื่อใช้ในการเดินทาง สะสมกันมาหลายสิบปี จนฝังรากกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง และรถยนตร์คือปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิต           เมื่อมีการใช้รถส่วนตัวกันมาก ก็ทำให้รถติด รถยิ่งติดก็ยิ่งทำให้คุณภาพและการบริการของรถเมล์ยิ่งเลวลง ผู้คนก็ยิ่งต้องดิ้นรนซื้อรถส่วนตัวกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อหนีสภาพการบริการอันเลวร้ายบนรถเมล์ วนเวียนเป็นวัฏจักรชั่วร้าย( vicious cycle )ที่ไม่มีวันจบสิ้น ทำให้การแก้ปัญหาจราจร เป็นไปไม่ได้ในสายตาของผู้รับผิดชอบและผู้บริหารประเทศในอดีตที่ผ่านมา การคิดง่ายๆว่าจะแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯด้วยการสร้างเครือข่ายถนนเพิ่มขึ้น ทำอุโมงค์หรือสะพานต่างระดับข้ามทางแยกทุกแห่ง สร้างทางด่วนให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไข เวลา เงินลงทุน ภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือ วัฒนธรรมการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ตลอดจนวัฏจักรอันชั่วร้ายของปัญหาจราจรที่เกิดขึ้นแล้ว คงจะต้องพิจารณาทบทวนเสียใหม่ เพราะมาตรการเพิ่มพื้นผิวจราจร ต้องใช้ทั้งเวลาและการลงทุนสูง เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการจราจรแล้ว คงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้เป็นมาตรการหลักในการแก้ไขปัญหา หากจะเร่งดำเนินการกันเต็มที่ ก็จะได้ผลเพียงการผ่อนคลายปัญหา หรือไม่ให้ปัญหาเลวร้ายลงไปกว่าเดิมเท่านั้น หนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาจราจรทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาวก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่ใช้รถส่วนบุคคล ( รถเก๋ง รถปิคอัพ และรถจักรยานยนตร์ ) ให้มาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การย้ายเมือง การย้ายสถานที่ราชการ หรือการสร้างเมืองใหม่ ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวร ถ้าพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนยังเป็นเช่นเดิม เมืองใหญ่ๆในภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต ขอนแก่น ฯลฯ ต่างประสบปัญหาจราจรจากการแพร่ระบาดของวัฒนธรรมการเดินทางแบบคนกรุงเทพฯเช่นกัน           เป็นที่ยอมรับกันว่า เมืองใหญ่ๆที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จะต้องจัดเตรียมและพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการเดินทางของผู้คนก่อนที่จะเกิดปัญหาจราจร หากการจราจรเกิดภาวะวิกฤติเสียแล้ว การหวลกลับมาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อแก้ปัญหา จึงเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ ดังเช่นที่เมืองลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ กรุงเทพฯของเรา โดยมีอุปสรรคจากวัฏจักรอันชั่วร้ายที่ก่อตัวขึ้นมาแล้ว หนทางเดียวที่จะทำลายวัฏจักรดังกล่าวคือ ดึงรถเมล์ออกมาจากวัฏจักร แล้วพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน สำหรับในกรุงเทพฯ อาจจำเป็นต้องใช้ระบบโซนนิ่งเป็นมาตรการสนับสนุน เพื่อให้การพัฒนารถเมล์ประสบความสำเร็จในช่วงของการแก้ปัญหาจราจรในระยะเร่งด่วน โดยการปรับปรุงรถเมล์โดยสารให้ถึงพร้อมทั้ง คุณภาพ ปริมาณ ความปลอดภัย ไปได้รวดเร็ว และขั้นตอนต่อไปต้องเร่งสร้างเครือข่ายรถไฟฟ้าใต้ดินให้เป็นระบบขนส่งมวลชนเสริม เพื่อรองรับการแก้ปัญหาในระยะยาว เนื่องจากกรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรมาก ในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อขนส่งผู้โดยสารจำนวนมากๆ ด้วยความรวดเร็ว และรถเมล์โดยสารจะเป็นระบบขนส่งมวลชนหลัก ที่รับส่งผู้โดยสารไปสู่จุดหมายปลายทาง ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการพัฒนาปรับปรุงรถเมล์โดยสารให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนที่ขับขี่รถส่วนบุคคล เป็นจุดหักเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งหากมองข้ามจุดนี้ การแก้ปัญหาจราจรในระยะสั้นก็จะล้มเหลว และจะส่งผลกระทบไปถึงแผนการแก้ปัญหาในระยะยาว           เมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นในอารยะประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้ระบบขนส่งมวลชนในการเดินทาง เนื่องจากรัฐบาลของเขา ได้เตรียมการและพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อรองรับความเจริญของบ้านเมือง ซึ่งต่างจากเมืองใหญ่ในประเทศด้อยพัฒนา ที่ระบบขนส่งมวลชนมักจะถูกละเลย และประชาชนถูกทอดทิ้งให้ดิ้นรนหาวิธีการเดินทางกันเอง ในท้องถนนจะเต็มไปด้วยรถคันเล็กคันน้อย ทั้งที่เป็นรถส่วนตัวและรถบริการสาธารณะ แก่งแย่งกันใช้พื้นที่ถนนที่มีอยู่อย่างจำกัด สับสนอลหม่าน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สถิติการบาดเจ็บล้มตายจากอุบัติเหตุจราจร สูงกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สายเกินไปที่เราจะคิดแก้ไข และปรับปรุงระบบการเดินทางในกรุงเทพฯเสียใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหารถติด
2.เพื่อเรียนรู้วิะีการสร้างภาพยนต์สั้นเกี่ยวกับปัญหารถติด

ผลการศึกษา (ให้เขียนตามวัตถุประสงค์ )

              ได้ความรู้จากการศึกษาปัญหารถติดว่า สาเหตุสำคัญของปัญหารถติดคือ คนเรานำรถมาใช้บนท้องถนนเยอะ ข้อดี ข้อเสีย และได้รู้วิธีการแก้ปัญหารถติดในประเทศเราและทำให้มีการจราจรที่ดีและไม่ติดขัด เพื่อที่จะสะดวกในการเดินทางและไม่เสียเวลา และทำให้ลดการใช้รถใช้ถนนกันน้อยลง หันมาใช้จักรยานแทน หรือเมื่อไปในสถานที่ใกล้ๆก็เปลี่ยนจากการขับรถส่วนบุคคล มา เดิน หรือขี่จักรยาน ทำให้เราได้ทั้งออกกำลังกาย ลดปัญหาจราจรติดขัดบนท้องถนน และสามารถลดภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้อีกด้วย ประการที่2คือเราได้ศึกษาวิธีทำหนังสั้นเกี่ยวกับปัญหารถติด ทำให้เราได้รู้จักการทำหนังสั้น วิธีการทำหนังสั้น การจัดการควบคุมการแสดง เป็นต้น 

เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ

1.หยุดออกรถใหม่
2.แท็กซี่หยุดจอดแช่ ตามป้าย ตาม ริมถนน
3.รถเมล์หยุดจอดแช่ หยุดป้าย เข้าขวาแล้วออกซ้าย วิ่งตามเลนซ้ายของตนเอง
4.รถยนต์หยุด ขับปาดซ้าย เบียดขวา ขับตรงไปเรื่อยๆ ถ้าไม่เลี้ยว ก็ไม่ต้องเบียด ไม่ต้องกลัวไม่ได้ไป ถ้าไปดีๆ ได้ไปทุกคัน
5.รถยนต์ทุกชนิด หยุดวิ่งชิดซ้าย เบียนเลนรถจักรยานยนต์
6.รถจักรยานยนต์ก็หยุดวิ่งเลนขวา เลนกลาง
7.หยุดฝ่าไฟแดง ในขณะไฟเขียวกำลังจะหมดเวลา (เพราะฝ่าไฟแดง รถจะไปติดกันกลางไฟแดง เพราะต่างคนต่างจะไป สรุป ไปไหนไม่ได้สักทาง เพราะกูก็จะไป)
8.หยุดบีบแตรถ้ารถติดแช่นาน ก็ไม่ต้องบีบแตร ใส่กัน ยิ่งบีบ ยิ่งเบียดกัน
9.มีน้ำใจ หยุดรถให้รถคันอื่นเลี้ยว จะได้ไม่ค่อยๆขยับๆออกมาเบียดเองกลางถนน
10.หยุดรถทุกครั้งเวลาเห็นคนจะข้ามถนน ตรงทางม้าลาย ไม่ต้องให้คน เล่นเกมส์ วิ่งข้ามถนน ว่าจะรอดหรือไม่รอด
11.หยุดจอดรถ ในที่ห้ามจอด โดยจะเฉพาะช่วงถนนคอขวด
12.ถ้าไม่จำเป็นก็ใช้รถสาธารณะในการเดิน(จะได้ไม่ต้องบ่นว่าน้ำมันแพง)
13.ที่สำคัญปฏิบัติตามกฏจราจร

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1

1.ได้ความรู้เกี่ยวกับทำหนังสั้น ทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพ
2.ได้รู้จักกระบวนการทำงานต่างๆ
3.ได้รู้จักวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า













วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิดีโอกฎหมายจราจรเบื้องต้น



ปัญหารถติด
 
  1. รถส่วนใหญ่ออกมาใช้ถนนในเวลาเดียวกัน
  2.  ถนนในเมืองไทยเหมือนไส้กรอกคือบางช่วงกว้างบางช่วงแคบไม่เท่ากันตลอดสาย
  3.  ถนนในกรุงเทพฯมีโครงสร้างเหมือนใยแมงมุม มีตรอกซอกซอยเยอะ ทำให้รถตัดกระแสกันไปมาระหว่างทางตรงและตรอกซอกซอยตลอดเวลา 
  4. จำนวนรถเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละเดือนแต่ละปี การขยายถนนเพื่อรองรับไม่ทันกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  5.  มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยๆ การจากประมาทในการขับขี่ 
  6.  มีการปิดกั้นการจราจรในบางช่วงเวลาทำให้รถติดสะสม
  7.  มีการขุดถนนและปรับปรุงพื้นผิวจราจรตลอดเวลาหมุนเวียนไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น
  8.  ระบบขนส่งมวลชนยังมีข้อบกพร่องในการให้บริการอยู่มาก คนจึงไม่อยากใช้บริการ
  9.  ทางด่วนควรด่วนสมชื่อ ไม่ใช่ด่วนแต่ชื่ออย่างทุกวันนี้ 
  10.  ในเขตชุมชนบางแห่งใช้ถนนเป็นที่จอดรถ ทำให้เสียช่องทางจราจรไป
  11. สัญญาณไฟจราจรปล่อยรถไม่สัมพันธ์กัน ทำให้รถถูกปล่อยจากสัญญาณจุดนี้แต่ไปกระจุกตัวในสัญญาณไฟถัดไปอีก
  12.  ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนไม่ค่อยจะมีนำใจต่อกัน และไม่เคารพกฎจราจรเท่าที่ควร




10 เมือง ที่มีการจราจรดีเยี่ยม คล่องตัวมากที่สุดในโลก

10.โคเชตซ์, ประเทศสโลวาเกีย – 7,440
9.โคเปนเฮเกน, ประเทศเดนมาร์ก – 7,440
8.เบอร์โน, สาธารณรัฐเช็ก – 7,320
7.โปร์ตู, ประเทศโปรตุเกส – 7,200
6.แอนต์เวิร์ป, ประเทศเบลเยียม – 7,080
5.บริสเบน, ประเทศออสเตรเลีย – 6,960
4.อาบูดาบี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ – 6,840
3.บราติสลาวา, ประเทศสโลวาเกีย – 6,840
2.รอตเทอร์ดาม, ประเทศเนเธอร์แลนด์ – 6,360
1.ตัมเปเร, ประเทศฟินแลนด์ – 6,240




ข้อมูลจาก : http://www.mhaba.com/

การสร้างสะพานใน ก.ท.ม. เพื่อแก้ไขปัญหารถติด



                  โครงการถนนสะพานที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 
1. โครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-ถนนรัตนโกสินทร์สมโภชน์ เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนน แก้ไขปัญหาด้านการจราจร ระหว่างถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 50) กับถนนวัชรพล และถนนสุขาภิบาล ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 91% เสร็จกลางปี 58 
2. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน ก่อสร้างถนนเชื่อมถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน แก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน และพื้นที่ต่อเนื่องใช้เป็นเส้นทางลัดโดยผ่านซอยอาภาภิรมย์ (ซอยรัชดาภิเษก 32) ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 72% คาดเปิดใช้บริการ เดือน ก.พ. 2558 
3. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนสุขาภิบาล ช่วงจาก ถนนอ่อนนุชถึงถนนวงแหวนรอบนอก ขยายผิวจราจรเดิม ช่องจราจรเป็น ช่องจราจร พร้อมทางเท้าและท่อระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อมระหว่างถนนอ่อนนุชถึงถนนวงแหวนรอบนอก ก่อสร้างแล้วเสร็จต้นปี 2558 ดำเนินก่อสร้าง แล้ว 88% 
4. โครงการก่อสร้างทางต่างระดับถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช ดำเนินการปรับปรุงจุดตัดบริเวณทางแยกถนนพัฒนาการ- ถนนอ่อนนุช เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรเร่งด่วนของกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างแล้วเสร็จ มี.ค. 58 งานเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 58 ดำเนินก่อสร้างแล้ว 55%

 5. โครงการก่อสร้างปรับปรุงซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.ซอย 28 ช่วงจากวงเวียน ถึงจุดที่ปรับปรุงแล้ว ปรับปรุงถนนเดิมเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีทางเท้าและท่อระบายน้ำ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจราจรในบริเวณนี้ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ก่อสร้างแล้วเสร็จ ปลายปี 58 ดำเนินก่อสร้างแล้ว 47% 
6. โครงการก่อสร้างสะพานต่างระดับถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงจุดตัดบริเวณทางแยกถนนจรัญฯ ถนนกาญจนาภิเษก ก่อสร้างแล้วเสร็จมีนาคม 2558ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 86%
 7.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนตากสินกับถนนรัชดา ภิเษก เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณทางแยก (แยกมไหศวรรย์) ก่อสร้างเสร็จปลายปี 2558 ดำเนินการก่อสร้างแล้ว50% 
8. โครงการก่อสร้างปรับปรุงซอยประชาอุทิศ 90 ช่วงจากถนนประชาอุทิศถึงคลองเก้าห้อง ขยายผิวจราจรเดิม ช่อง เป็น ช่องจราจรพร้อมเพิ่มทางเท้าและท่อระบายน้ำ ก่อสร้างเสร็จ ก.พ. 2558 ดำเนินการก่อสร้างแล้ว 70% 
9. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนทวีวัฒนา ช่วงจากถนนอุทยานถึงถนนเพชรเกษม เป็นการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของถนนให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่และเหมาะสมตามสภาวะ ของปัญหาทางด้านการจราจรและสภาพทางเศรษฐกิจ แล้วเสร็จกลางปี 2558 ดำเนินการก่อสร้าง 69%.





ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/bangkok/291026

สถิติการขึ้นทะเบียนรถ







                จากสถิติ 6 ปีย้อนหลังของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ทุก ๆ ปี (ยกเว้นปี 2552) ในกรุงเทพมหานครจะมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยเราจะลองมาดูเฉพาะสถิติของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ซึ่งเป็นประเภทของรถยนต์ที่มีคนจดทะเบียนมากที่สุด

  ปี 2550
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 175,122 คัน 
 ปี 2551 
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 190,057 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2550 คิดเป็น 8.52%
  ปี 2552
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 172,892 คัน ลดลงจากปี2551 คิดเป็น 9.03%
  ปี 2553 
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 255,132 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2552 คิดเป็น 47.56%
 ปี 2554
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 286,590 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2553 คิดเป็น 12.33%
  ปี 2555
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 451,651 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2554 คิดเป็น 57.59%

ข้อมูลจาก : http://hilight.kapook.com/view/89813
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปัญหารถติด
            

ปี 58 เมืองกรุงรถติดขึ้นอีก | เดลินิวส์
              ปี 58 เมืองกรุงรถติดขึ้นอีก เหตุอภิมหาโครงการก่อสร้างยังยืดเยื้อ คาดวิกฤติสุดย่านรอยต่อโซนกรุงเทพนนท์-ปทุมฯ นับวันปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครก็ยิ่งดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สารพันโครงการแก้ปัญหาในหลาย ๆ รูปแบบที่หลากหลายหน่วยงานช่วยกันผุดขึ้นนั้น ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาได้แค่เศษเสี้ยว เพราะแท้จริงแล้ว ต้นเหตุของปัญหารถติด เกิดจากเมืองที่มีจำนวนถนนที่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีถนนหนทางเพียงแค่ 5,400 กิโลเมตร แต่กลับมีจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ซึ่งจากสถิติของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ในปี 57 ที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณรถยนต์สะสมถึงจำนวน 8,638,204 คัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากปี56ที่มีปริมาณรถสะสมอยู่ที่ 8,216,829 คัน ทั้งนี้ในปี 57มีการจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยวันละ1,249 คัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปี 56ซึ่งเป็นปีที่มีโครงการรถคันแรก จะมีการจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยวันละ1,623 คัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในปี 57มีจำนวนการจดทะเบียนรถน้อยลงกว่าปี 56 เฉลี่ยวันละ374 คัน แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 55ที่ไม่มีโครงการรถคันแรก จะพบว่าสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 57ยังคงเพิ่มขึ้น

               อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหารถติดบนท้องถนนก็เนื่องจากอภิมหาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เบียดบังพื้นผิวการจราจรไปจำนวนหนึ่ง ทำให้รถไม่สามารถใช้ถนนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีดังนี้1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งจะกระทบการจราจรในย่านนนทบุรี บางบัวทอง 2. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน อาทิถนนเจริญกรุง ถนนอิสรภาพ ถนนเพชรเกษม ถนนจรัญสนิทวงศ์3. โครงการก่อสร้างทางลอดแยกไฟฉาย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนพรานนก4. โครงการสร้างทางลอดแยกมไหศวรรย์ ซึ่งทำให้ถนนตากสิน และถนนรัชดาภิเษกเกิดการจราจรติดขัดอย่างหนัก5. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการจราจรในเส้นสุขุมวิท ยาวไปถึงการจราจรในจังหวัดสมุทร ปราการ6. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ทำให้ถนนโลคัลโรดรถติดยาวตลอดทั้งเส้นทาง7. โครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ซึ่งทำให้การจราจรในถนนราชพฤกษ์ จรัญสนิทวงศ์ สิรินธร บรมราชชนนี และกำแพงเพชร หนาแน่นและติดขัดตลอดเส้นทาง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง และในปี 58โครงการเหล่านี้ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งก็จะยังคงส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรต่อไปในอนาคต

ข้อมูลจาก : http://www.dailynews.co.th/bangkok/291026