วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิดีโอกฎหมายจราจรเบื้องต้น



ปัญหารถติด
 
  1. รถส่วนใหญ่ออกมาใช้ถนนในเวลาเดียวกัน
  2.  ถนนในเมืองไทยเหมือนไส้กรอกคือบางช่วงกว้างบางช่วงแคบไม่เท่ากันตลอดสาย
  3.  ถนนในกรุงเทพฯมีโครงสร้างเหมือนใยแมงมุม มีตรอกซอกซอยเยอะ ทำให้รถตัดกระแสกันไปมาระหว่างทางตรงและตรอกซอกซอยตลอดเวลา 
  4. จำนวนรถเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละเดือนแต่ละปี การขยายถนนเพื่อรองรับไม่ทันกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  5.  มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยๆ การจากประมาทในการขับขี่ 
  6.  มีการปิดกั้นการจราจรในบางช่วงเวลาทำให้รถติดสะสม
  7.  มีการขุดถนนและปรับปรุงพื้นผิวจราจรตลอดเวลาหมุนเวียนไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น
  8.  ระบบขนส่งมวลชนยังมีข้อบกพร่องในการให้บริการอยู่มาก คนจึงไม่อยากใช้บริการ
  9.  ทางด่วนควรด่วนสมชื่อ ไม่ใช่ด่วนแต่ชื่ออย่างทุกวันนี้ 
  10.  ในเขตชุมชนบางแห่งใช้ถนนเป็นที่จอดรถ ทำให้เสียช่องทางจราจรไป
  11. สัญญาณไฟจราจรปล่อยรถไม่สัมพันธ์กัน ทำให้รถถูกปล่อยจากสัญญาณจุดนี้แต่ไปกระจุกตัวในสัญญาณไฟถัดไปอีก
  12.  ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนไม่ค่อยจะมีนำใจต่อกัน และไม่เคารพกฎจราจรเท่าที่ควร




10 เมือง ที่มีการจราจรดีเยี่ยม คล่องตัวมากที่สุดในโลก

10.โคเชตซ์, ประเทศสโลวาเกีย – 7,440
9.โคเปนเฮเกน, ประเทศเดนมาร์ก – 7,440
8.เบอร์โน, สาธารณรัฐเช็ก – 7,320
7.โปร์ตู, ประเทศโปรตุเกส – 7,200
6.แอนต์เวิร์ป, ประเทศเบลเยียม – 7,080
5.บริสเบน, ประเทศออสเตรเลีย – 6,960
4.อาบูดาบี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ – 6,840
3.บราติสลาวา, ประเทศสโลวาเกีย – 6,840
2.รอตเทอร์ดาม, ประเทศเนเธอร์แลนด์ – 6,360
1.ตัมเปเร, ประเทศฟินแลนด์ – 6,240




ข้อมูลจาก : http://www.mhaba.com/

การสร้างสะพานใน ก.ท.ม. เพื่อแก้ไขปัญหารถติด



                  โครงการถนนสะพานที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 
1. โครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-ถนนรัตนโกสินทร์สมโภชน์ เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนน แก้ไขปัญหาด้านการจราจร ระหว่างถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 50) กับถนนวัชรพล และถนนสุขาภิบาล ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 91% เสร็จกลางปี 58 
2. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน ก่อสร้างถนนเชื่อมถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน แก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน และพื้นที่ต่อเนื่องใช้เป็นเส้นทางลัดโดยผ่านซอยอาภาภิรมย์ (ซอยรัชดาภิเษก 32) ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 72% คาดเปิดใช้บริการ เดือน ก.พ. 2558 
3. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนสุขาภิบาล ช่วงจาก ถนนอ่อนนุชถึงถนนวงแหวนรอบนอก ขยายผิวจราจรเดิม ช่องจราจรเป็น ช่องจราจร พร้อมทางเท้าและท่อระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อมระหว่างถนนอ่อนนุชถึงถนนวงแหวนรอบนอก ก่อสร้างแล้วเสร็จต้นปี 2558 ดำเนินก่อสร้าง แล้ว 88% 
4. โครงการก่อสร้างทางต่างระดับถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช ดำเนินการปรับปรุงจุดตัดบริเวณทางแยกถนนพัฒนาการ- ถนนอ่อนนุช เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรเร่งด่วนของกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างแล้วเสร็จ มี.ค. 58 งานเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 58 ดำเนินก่อสร้างแล้ว 55%

 5. โครงการก่อสร้างปรับปรุงซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.ซอย 28 ช่วงจากวงเวียน ถึงจุดที่ปรับปรุงแล้ว ปรับปรุงถนนเดิมเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีทางเท้าและท่อระบายน้ำ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจราจรในบริเวณนี้ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ก่อสร้างแล้วเสร็จ ปลายปี 58 ดำเนินก่อสร้างแล้ว 47% 
6. โครงการก่อสร้างสะพานต่างระดับถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงจุดตัดบริเวณทางแยกถนนจรัญฯ ถนนกาญจนาภิเษก ก่อสร้างแล้วเสร็จมีนาคม 2558ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 86%
 7.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนตากสินกับถนนรัชดา ภิเษก เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณทางแยก (แยกมไหศวรรย์) ก่อสร้างเสร็จปลายปี 2558 ดำเนินการก่อสร้างแล้ว50% 
8. โครงการก่อสร้างปรับปรุงซอยประชาอุทิศ 90 ช่วงจากถนนประชาอุทิศถึงคลองเก้าห้อง ขยายผิวจราจรเดิม ช่อง เป็น ช่องจราจรพร้อมเพิ่มทางเท้าและท่อระบายน้ำ ก่อสร้างเสร็จ ก.พ. 2558 ดำเนินการก่อสร้างแล้ว 70% 
9. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนทวีวัฒนา ช่วงจากถนนอุทยานถึงถนนเพชรเกษม เป็นการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของถนนให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่และเหมาะสมตามสภาวะ ของปัญหาทางด้านการจราจรและสภาพทางเศรษฐกิจ แล้วเสร็จกลางปี 2558 ดำเนินการก่อสร้าง 69%.





ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/bangkok/291026

สถิติการขึ้นทะเบียนรถ







                จากสถิติ 6 ปีย้อนหลังของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ทุก ๆ ปี (ยกเว้นปี 2552) ในกรุงเทพมหานครจะมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยเราจะลองมาดูเฉพาะสถิติของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ซึ่งเป็นประเภทของรถยนต์ที่มีคนจดทะเบียนมากที่สุด

  ปี 2550
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 175,122 คัน 
 ปี 2551 
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 190,057 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2550 คิดเป็น 8.52%
  ปี 2552
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 172,892 คัน ลดลงจากปี2551 คิดเป็น 9.03%
  ปี 2553 
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 255,132 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2552 คิดเป็น 47.56%
 ปี 2554
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 286,590 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2553 คิดเป็น 12.33%
  ปี 2555
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 451,651 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2554 คิดเป็น 57.59%

ข้อมูลจาก : http://hilight.kapook.com/view/89813
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปัญหารถติด
            

ปี 58 เมืองกรุงรถติดขึ้นอีก | เดลินิวส์
              ปี 58 เมืองกรุงรถติดขึ้นอีก เหตุอภิมหาโครงการก่อสร้างยังยืดเยื้อ คาดวิกฤติสุดย่านรอยต่อโซนกรุงเทพนนท์-ปทุมฯ นับวันปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครก็ยิ่งดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สารพันโครงการแก้ปัญหาในหลาย ๆ รูปแบบที่หลากหลายหน่วยงานช่วยกันผุดขึ้นนั้น ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาได้แค่เศษเสี้ยว เพราะแท้จริงแล้ว ต้นเหตุของปัญหารถติด เกิดจากเมืองที่มีจำนวนถนนที่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีถนนหนทางเพียงแค่ 5,400 กิโลเมตร แต่กลับมีจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ซึ่งจากสถิติของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ในปี 57 ที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณรถยนต์สะสมถึงจำนวน 8,638,204 คัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากปี56ที่มีปริมาณรถสะสมอยู่ที่ 8,216,829 คัน ทั้งนี้ในปี 57มีการจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยวันละ1,249 คัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปี 56ซึ่งเป็นปีที่มีโครงการรถคันแรก จะมีการจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยวันละ1,623 คัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในปี 57มีจำนวนการจดทะเบียนรถน้อยลงกว่าปี 56 เฉลี่ยวันละ374 คัน แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 55ที่ไม่มีโครงการรถคันแรก จะพบว่าสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 57ยังคงเพิ่มขึ้น

               อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหารถติดบนท้องถนนก็เนื่องจากอภิมหาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เบียดบังพื้นผิวการจราจรไปจำนวนหนึ่ง ทำให้รถไม่สามารถใช้ถนนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีดังนี้1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งจะกระทบการจราจรในย่านนนทบุรี บางบัวทอง 2. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน อาทิถนนเจริญกรุง ถนนอิสรภาพ ถนนเพชรเกษม ถนนจรัญสนิทวงศ์3. โครงการก่อสร้างทางลอดแยกไฟฉาย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนพรานนก4. โครงการสร้างทางลอดแยกมไหศวรรย์ ซึ่งทำให้ถนนตากสิน และถนนรัชดาภิเษกเกิดการจราจรติดขัดอย่างหนัก5. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการจราจรในเส้นสุขุมวิท ยาวไปถึงการจราจรในจังหวัดสมุทร ปราการ6. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ทำให้ถนนโลคัลโรดรถติดยาวตลอดทั้งเส้นทาง7. โครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ซึ่งทำให้การจราจรในถนนราชพฤกษ์ จรัญสนิทวงศ์ สิรินธร บรมราชชนนี และกำแพงเพชร หนาแน่นและติดขัดตลอดเส้นทาง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง และในปี 58โครงการเหล่านี้ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งก็จะยังคงส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรต่อไปในอนาคต

ข้อมูลจาก : http://www.dailynews.co.th/bangkok/291026
   15 เมืองรถติดที่สุดในโลก


         ปรากฏการณ์ "รถติด" เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมานับสิบปี และนับวันจะเป็นที่คุ้นเคยของคนเมืองเป็นอย่างดี เมื่อจำนวนรถมีมากกว่าถนน เมื่อวางผังเมืองไม่เหมาะสม เมื่อผู้คนไร้ระเบียบวินัย ฯลฯ หลายอย่างทำให้ถนนกลายเป็นที่จอดรถดีๆ นี่เอง

       นิตยสาร travel+leisure ได้รวบรวมข้อมูลจากสถาบันการจราจรแห่งเท็กซัส, บริษัท IBM ผู้ให้บริการด้านสารสนเทศ, บริษัท TOMTOM ผู้ผลิตเครื่องจีพีเอส และINRIX องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลด้านการจราจร โดยใช้ตัวชี้วัดหลายอย่าง ทั้งระยะเวลาการเดินทาง การเฝ้าติดตามบริเวณถนนคอขวด และความรู้สึกของผู้ขับขี่ จนได้ 15 เมืองที่รถติดที่สุดในโลกมา หลายเมืองเราอาจคุ้นเคยดีอยู่แล้ว แต่อีกหลายเมืองเช่นกันที่ติดอันดับอย่างน่าประหลาดใจ

         ทั้งหมดนี้ไม่เพียงบ่งบอกว่าเมืองไหนกำลังถูกบุกด้วยรถยนต์ แต่ยังแสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราเอาเวลาและเชื้อเพลิงไปผลาญกลางท้องถนนกันมาก มายขนาดไหนแต่ละปี

1. เม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เม็กซิโกซิตี้เป็นเมืองฮอตฮิตตั้งแต่งานกีฬาโอลิมปิกเมื่อปี 1968 ในเวลาเพียง 4 ทศวรรษประชากรในเมืองก็เพิ่มขึ้นจาก 5 ล้านเป็น 22 ล้านคน ตัวเมืองมีภูมิประเทศคล้ายคลึงกับแอลเอ คือตั้งอยู่ในหุบเขาและมีระบบถนนที่ซับซ้อน ทำให้ทั้งสองเมืองนี้มีปัญหามลพิษและการจราจรคล้ายๆ กันด้วย จากการสำรวจโดย IBM (สอบถามประชาชน 8,192 คนใน 20 เมืองใหญ่ทั่วโลก) ให้คะแนนเม็กซิโกซิตี้ด้านอุปสรรคการเดินทาง 99 จาก 100 คะแนน เรียกว่ากวาดคะแนนไปอย่างท่วมท้น

2. นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หากใครได้ผ่านไปในมหานครแห่งนี้ช่วงเวลาประมาณตี 4 คุณจะได้พบกับการจราจรที่ไม่ต่างจากช่วงเวลาเร่งด่วนใจกลางเมือง และด้านนอกเมืองทางแมนฮัตตันก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันสักเท่าไหร่ เพราะในบรรดาถนนคอขวดที่แย่ที่สุดในอเมริกา 5 แห่ง อยู่ในนิวยอร์กเข้าไปแล้ว 4 แห่ง

3. บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม หากคิดว่าโรมเป็นเมืองแออัดที่สุดในยุโรป ต้องขอบอกว่าผิดเสียแล้วล่ะ เพราะจากข้อมูลของบริษัท TomTom คำตอบที่ได้คือ "บรัสเซลส์" (จาก 59 เมืองในยุโรป) ประชากรราว 2 ล้านคนเดินทางเข้ามาในเมืองนี้ทุกๆ วัน ผสมกับประชากรที่อาศัยในเมืองนี้อีก 1 ล้านคน และส่วนมากมักเดินทางด้วยรถส่วนตัวมากกว่าระบบขนส่งสาธารณะ ช่วงเวลาที่ติดขัดสุดๆ คือ 7-9 โมง แล้วบ่าย 3-5 โมง ในระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ซึ่งสามารถปั่นจักรยานในเวลา 20 นาที แต่ที่เมืองนี้ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในรถยนต์

4. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมืองกรุงเทพฯ ของเราก็ติดอันดับเช่นกัน อัตราการเป็นเจ้าของรถพุ่งแซงการเจริญเติบโตของเมือง และรถสามารถติดได้ไม่เกี่ยงเวลา โดยทั่วไป ชั่วโมงเร่งด่วนตอนบ่ายจะเริ่มที่บ่าย 3 โมงครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาที่เด็กๆ เลิกเรียนและติดต่อเนื่องถึงเวลามื้อเย็น หากวันไหนฝนตกรถยิ่งนิ่งสนิท ถนนหลายสายจะแปรสภาพเป็นคลองชั่วคราว ให้ได้ย้อนอดีตกันว่าเมืองของเราเคยได้รับฉายา "เวนิสตะวันออก" แม้ว่ากรุงเทพฯ จะมีรถไฟฟ้าช่วยแก้ปัญหาจราจรได้บ้าง (แต่ดูเหมือนนโยบาลลดภาษีรถคันแรกคงจะเพิ่มปริมาณรถบนท้องถนนให้นิ่งสนิท ยิ่งขึ้น)

5. โจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ จากข้อมูลของ IBM ผู้ใช้รถที่ตอบแบบสำรวจ 43% เห็นว่าไฟจราจรในเมืองนี้เป็นเรื่องบั่นทอนจิตใจที่สุด (ขยับได้เพียงไม่กี่เซ็นติเมตรก็หยุดอีกแล้ว) โครงสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่เหมาะสมและจำนวนประชากรที่ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น จาก 7 ล้านคนเป็น 14 ล้านคนใน 4 ปีข้างหน้า กำลังทำให้เมืองนี้กลายเป็นลานจอดรถดีๆ นี่เอง

6. มอสโก ประเทศรัสเซีย การสำรวจของ IBM พบว่าโดยทั่วไปชาวเมืองมอสโกใช้เวลาติดอยู่บนท้องถนนถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง และมากกว่า 40% ตอบว่าเคยติดอยู่บนท้องถนนมากกว่า 3 ชั่วโมง จำนวนรถต่อประชากรในเมืองหลวงของรัสเซียแห่งนี้ เพิ่มจาก 60 คัน : 1000 คนในปี 1991 เป็น 350 คัน : 1000 คนในปี 2009

7. ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่น่าแปลกใจเลยที่ลอสแองเจลิสจะติดโผเมืองรถติดด้วย จากข้อมูลของสถาบันขนส่งเท็กซัส ระบุว่า ทุกๆ ปี ประชากรในเมืองนี้ใช้เวลาค้างเติ่งอยู่บนถนนถึง 485 ล้านชั่วโมง ใช้พลังงาน 367 ล้านแกลลอน ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 10.3 พันล้านดอลล่าร์ (กว่า 3 หมื่นล้านบาท) ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนไม่ค่อยจะใช้เวลาอยู่ที่เมืองนี้นานนัก

8. ปักกิ่ง ประเทศจีน ชาวปักกิ่งเริ่มทิ้งจักรยานและหันไปหารถยนต์กันมากขึ้น จนตอนนี้มีปริมาณรถยนต์ใหม่ถึง 1,900 คันต่อวัน ย้อนไปในปี 1997 เมื่อเมืองนี้มีรถยนต์ถึง 1 ล้านคัน บางคนคาดการณ์ว่าจำนวนรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านคันในเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษ แต่ทางการก็ไม่ได้วางแผนรับมือแต่อย่างใด จนเร็วๆ นี้ถึงมีมาตรการห้ามรถบางประเภทเข้าโซนรถติดในวันทำงาน และแม้ว่าปักกิ่งยังติดอันดับต้นๆ ของเมืองรถติด แต่ผู้ตอบแบบสอบถาม 16 %ก็ยังรู้สึกว่าปัจจุบันปัญหารถติดมีทีท่าดีขึ้น

9. นิวเดลี ประเทศอินเดีย สภาพเมืองที่แผ่กระจายอย่างไร้ระเบียบยิ่งเพิ่มความแออัดของรถรา คนใช้รถในเมืองนี้ยิ่งขับรถเร็วขึ้นเมื่อผ่านแยกไฟแดง ในช่วงเวลา 50 ปีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 50% ในทุกๆ สิบปี และไม่มีทีท่าจะลดลง จากการสำรวจของ IBM พบว่าประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่าการจราจรย่ำแย่มากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 65% รู้สึกเครียดเพราะไม่มีเวลาให้ครอบครัว และ 29 % บอกว่าการจราจรส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

10. วอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ หลายคนอาจจะแปลกใจว่ามีเมืองวอร์ซออยู่ในโผรถติดด้วย แต่จากผลสำรวจของบริษัท TomTom เมืองวอร์ซอถือเป็นเมืองที่รถติดเป็นอันดับสองของยุโรป เมืองที่มีจำนวนรถ 3.5 ล้านคันติดอยู่ตามแยกต่างๆ สำนักงานต่างๆ มาตั้งอยู่ที่นี่กันมากกว่าเมืองอื่นๆ ในยุโรป และวอร์ซอก็ไม่มีทางเลี่ยงเมืองเสียด้วย

11. เซาท์เปาโล ประเทศบราซิล เมืองใหญ่แห่งนี้ถือเป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 10 ของโลก แต่ด้วยสภาพเส้นทางดั่งเขาวงกต ประชากร 20 ล้านคน ยานพาหนะ 8.5 ล้านคัน การโจรกรรมรถและอาชญากรรมอื่นๆ ที่กำลังเพิ่มขึ้น จะไม่ให้ชาวเมืองนี้ไม่เครียดได้อย่างไร ผลสำรวจของ IBM ระบุว่า ผู้คนที่เดินทางในเมืองนี้ 55% รู้สึกเครียดจากผลของรถติด ซึ่งคนมีฐานะเหล่านี้ก็เลือกแก้ปัญหาโดยการ "บิน" เสียเลย ! เซาท์เปาโลเป็นหนึ่งในเมืองที่มีเฮลิคอปเตอร์ส่วนตัวมากเป็นอันดับต้นๆ

12. ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สำหรับนักออกผังเมือง ลอนดอนถือเป็นความหวังในการพัฒนาเมือง แต่น่าเสียดายที่ใจกลางของเมืองยังหนาแน่นไปด้วยพาหนะต่างๆ พื้นที่รถติดยังกินที่ออกไปกว้างขึ้นและกินระยะเวลานานขึ้นด้วย จนเมื่อปี 2003 หน่วยงานแก้ปัญหาในชื่อ The London Congestion Charge ได้ถือกำเนิดขึ้นและดำเนินการคิดค่ารถติดในอัตราวันละ 8 ปอนด์หากใครนำรถเข้ามาในพื้นที่การจราจรแออัด ในชั่วโมงเร่งด่วน

13. ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา หากได้ดูสถาปัตยกรรมอันเป็นตำนานของที่นี่ อาจช่วยให้เข้าใจความวิกฤติของการจราจรในเมืองนี้ได้ หนึ่งในนั้นรวมถึงจุดคอขวดที่มีสภาพเลวร้ายเป็นอันดับสองของอเมริกา การติดสาหัสขนาดนี้ทำให้ผู้คนเสียเวลาไป 189 ชั่วโมง เสียเชื้อเพลิงไป 129 ล้านแกลลอน และสูญเสียทรัพยากรคิดเป็นมูลค่า 4.2 พันล้านดอลล่าร์ (125 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี ถือว่าโชคยังดีที่เมืองนี้มี เดอะลูป (ถนนรอบเมือง)

14. ไคโร ประเทศอียิปต์ ไคโรอาจจะเป็นเมืองเดียวในตะวันออกกลางที่มีรถไฟใต้ดิน แต่เมืองนี้ก็มีอูฐ วัว รถเข็น และประชากรอีก 20 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่ไม่เคารพสัญญาณไฟจราจรและตำรวจ นอกจากนี้ปัญหาการจราจรยังสร้างมลพิษอีกด้วย เมฆหนาทึบปกคลุมไปทั่วเมืองตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 90

15. จาการ์ตา ประเทศอินนีเซีย ตามทฤษฎี รถจักรยานยนต์ถือเป็นหนทางแก้ปัญหาในอุดมคติที่จะช่วยเคลื่อนย้ายคน แต่สำหรับจาการ์ตา หลักการนี้ใช้ไม่ได้ผล เมืองหลวงของอินโดนีเซียแห่งนี้มีมอเตอร์ไซค์ถึง 6.5 ล้านคัน แต่มีรถยนต์เพียง 2 ล้านคัน กระนั้นก็ยังมีปัญหาการจราจรอยู่ ปริมาณรถทำให้สามารถทำความเร็วเฉลี่ยในเมืองนี้ได้แค่ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อมูลจากกระทรวงคมนาคมจาการ์ตาระบุว่าปริมาณพาหนะในเมืองนี้เพิ่มขึ้น เฉลี่ย 11% ต่อปี


ข้อมูลจาก : https://blog.eduzones.com/ezine/90456
ผลกระทบ






ด้านคมนาคม


  1. รถติด รถยนต์ต้องใช้น้ำมัน ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ สร้างมลพิษมากยิ่งขึ้น
  2. คนอยู่ชานเมืองนั่งรถเมลล์ไปทำงาน ต้องสูดเอาควันพิษจากท่อไอเสีย เป็นผลต่อสุขภาพ
  3. คนทำงานต้องเสียเวลาอยู่บนท้องถนน นานกว่า 2 ชั่วโมง ไป-กลับ 4 ชั่วโมง 1 คน เสียเวลาไป 4 ชั่วโมง แล้ว คนนับหมื่นนับแสนคน เสียเวลาไปเท่าไหร่ ซึ่งส่งผลทางด้านเศรษฐกิจไม่น้อยนอกจากนั้นการเดินทาง ในสภาวะที่มีแต่มลพิษ ประสิทธิภาพในการทำงานย่อมลดน้อยลง
  4. เพื่อหลีกเลี่ยงการผจญต่อมลพิษโดยตรง ทุกคนพยายามหาทางออกให้ตัวเอง
  5. ด้วยการมีรถยนต์เป็นของตัวเอง ซึ่งอาจจะสร้างภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก


ด้านเศรษฐกิจ


             รถติด" เป็นปัญหาสุดคลาสสิคของเมืองใหญ่ทั่วโลก แน่นอนว่าปัญหารถติดสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในทางตรง (เช่น อุบัติเหตุ/เผาผลาญน้ำมันไปฟรีๆ) หรือทางอ้อม (เวลางานที่เสียไป/มลภาวะ/สุขภาพ) แต่ "ต้นทุน" จริงๆ ของมันถ้าตีออกมาเป็นตัวเลขแล้วเป็นเท่าไร?

             ศูนย์วิจัย Centre for Economics and Business Research จากลอนดอน จับมือกับบริษัทวิเคราะห์สภาพจราจร INRIX วิเคราะห์ข้อมูลรถติดของ 4 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าสภาพจราจรติดขัดส่งผลกระทบใน 3 ประเด็นคือ

              การสูญเสียผลิตผลจากการทำงาน (productivity)
ค่าใช้จ่ายจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้น (เทียบกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน)
ต้นทุนด้านการเกิดมลพิษ โดยวัดจากอัตราการปล่อยคาร์บอน
ผลการคำนวณพบว่า "รถติด" ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 0.8% ของ GDP รวมของทั้ง 4 ประเทศ โดยถ้าวัดเป็นความเสียหายรวมกัน 4 ประเทศคือ 2 แสนล้านดอลลาร์ และตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 3 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2030 ส่วนรายละเอียดความเสียหายแยกเป็นรายประเทศสามารถอ่านได้จากลิงก์ที่มา

               Dominic Jordan ตัวแทนนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ INRIX ให้ความเห็นว่าการแก้ปัญหารถติดนั้นไม่ง่าย การสร้างหรือขยายถนนไม่ได้ช่วยแก้รถติด เพราะเอาเข้าจริงแล้วรถติดเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง (เช่น เมื่อเศรษฐกิจดี คนจะซื้อรถและไม่ประหยัดน้ำมัน) การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้อาจช่วยได้ เช่น รถยนต์ขับอัตโนมัติทำให้อัตราการหยุดรถน้อยลง หรือรถยนต์พลังไฟฟ้าช่วยลดอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนลง

ด้านสุขภาพ


     1. มลพิษทางอากาศบนท้องถนนจราจรฝุ่นละออง มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ดังนี้
         - หลอดลมอักเสบ
         - เกิดหอบหืด
         - ถุงลมโป่งพอง
         - เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการติดเชื้อ
    2. กลิ่นและก๊าซพิษต่างๆ
        ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Co) มีปริมาณมากในเครื่องยนต์เบนซินเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
            - ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพออาจถึงภาวะขาดออกซิเจนได้
            - ปวดศรีษะ มึนงง
            - มีอาการทางหัวใจ คลื่นไส้ หรืออาจมีอาการขั้นวิกฤติและตายได้
        ก๊าซไฮโดรคาร์บอน   เกิดจากเครื่องยนต์เผาไหม้ไม่สมบูรณ์
            - เป็นผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โลหิต ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
            - เป็นมะเร็งโลหิตขาว
            - ระคายเคืองต่อประสาทการมองเห็น ประสาทรับกลิ่นและเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้ไอ คลื่นไส้ หายใจขัด หอบหืด และผื่นแพ้ทางผิวหนังและมะเร็งที่สมอง
        ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน   เกิดจากรถ TAXI ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก๊าซโซลิน
             - เกิดโอโซนที่ปอด จะกัดกร่อนปอด ทำให้ปอดไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้
             - เกิดกรดไนตริกที่ปอดได้ มีคุณสมบัติกัดกร่อนอย่างแรง



ข้อมูลจาก : http://www.thaigoodview.com

                    https://tonsokdokkaew.wordpress.com/
             
                    https://www.meconomics.net/