วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ผลกระทบ






ด้านคมนาคม


  1. รถติด รถยนต์ต้องใช้น้ำมัน ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ สร้างมลพิษมากยิ่งขึ้น
  2. คนอยู่ชานเมืองนั่งรถเมลล์ไปทำงาน ต้องสูดเอาควันพิษจากท่อไอเสีย เป็นผลต่อสุขภาพ
  3. คนทำงานต้องเสียเวลาอยู่บนท้องถนน นานกว่า 2 ชั่วโมง ไป-กลับ 4 ชั่วโมง 1 คน เสียเวลาไป 4 ชั่วโมง แล้ว คนนับหมื่นนับแสนคน เสียเวลาไปเท่าไหร่ ซึ่งส่งผลทางด้านเศรษฐกิจไม่น้อยนอกจากนั้นการเดินทาง ในสภาวะที่มีแต่มลพิษ ประสิทธิภาพในการทำงานย่อมลดน้อยลง
  4. เพื่อหลีกเลี่ยงการผจญต่อมลพิษโดยตรง ทุกคนพยายามหาทางออกให้ตัวเอง
  5. ด้วยการมีรถยนต์เป็นของตัวเอง ซึ่งอาจจะสร้างภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก


ด้านเศรษฐกิจ


             รถติด" เป็นปัญหาสุดคลาสสิคของเมืองใหญ่ทั่วโลก แน่นอนว่าปัญหารถติดสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในทางตรง (เช่น อุบัติเหตุ/เผาผลาญน้ำมันไปฟรีๆ) หรือทางอ้อม (เวลางานที่เสียไป/มลภาวะ/สุขภาพ) แต่ "ต้นทุน" จริงๆ ของมันถ้าตีออกมาเป็นตัวเลขแล้วเป็นเท่าไร?

             ศูนย์วิจัย Centre for Economics and Business Research จากลอนดอน จับมือกับบริษัทวิเคราะห์สภาพจราจร INRIX วิเคราะห์ข้อมูลรถติดของ 4 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าสภาพจราจรติดขัดส่งผลกระทบใน 3 ประเด็นคือ

              การสูญเสียผลิตผลจากการทำงาน (productivity)
ค่าใช้จ่ายจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้น (เทียบกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน)
ต้นทุนด้านการเกิดมลพิษ โดยวัดจากอัตราการปล่อยคาร์บอน
ผลการคำนวณพบว่า "รถติด" ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 0.8% ของ GDP รวมของทั้ง 4 ประเทศ โดยถ้าวัดเป็นความเสียหายรวมกัน 4 ประเทศคือ 2 แสนล้านดอลลาร์ และตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 3 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2030 ส่วนรายละเอียดความเสียหายแยกเป็นรายประเทศสามารถอ่านได้จากลิงก์ที่มา

               Dominic Jordan ตัวแทนนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ INRIX ให้ความเห็นว่าการแก้ปัญหารถติดนั้นไม่ง่าย การสร้างหรือขยายถนนไม่ได้ช่วยแก้รถติด เพราะเอาเข้าจริงแล้วรถติดเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง (เช่น เมื่อเศรษฐกิจดี คนจะซื้อรถและไม่ประหยัดน้ำมัน) การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้อาจช่วยได้ เช่น รถยนต์ขับอัตโนมัติทำให้อัตราการหยุดรถน้อยลง หรือรถยนต์พลังไฟฟ้าช่วยลดอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนลง

ด้านสุขภาพ


     1. มลพิษทางอากาศบนท้องถนนจราจรฝุ่นละออง มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ดังนี้
         - หลอดลมอักเสบ
         - เกิดหอบหืด
         - ถุงลมโป่งพอง
         - เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการติดเชื้อ
    2. กลิ่นและก๊าซพิษต่างๆ
        ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Co) มีปริมาณมากในเครื่องยนต์เบนซินเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
            - ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพออาจถึงภาวะขาดออกซิเจนได้
            - ปวดศรีษะ มึนงง
            - มีอาการทางหัวใจ คลื่นไส้ หรืออาจมีอาการขั้นวิกฤติและตายได้
        ก๊าซไฮโดรคาร์บอน   เกิดจากเครื่องยนต์เผาไหม้ไม่สมบูรณ์
            - เป็นผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โลหิต ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
            - เป็นมะเร็งโลหิตขาว
            - ระคายเคืองต่อประสาทการมองเห็น ประสาทรับกลิ่นและเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้ไอ คลื่นไส้ หายใจขัด หอบหืด และผื่นแพ้ทางผิวหนังและมะเร็งที่สมอง
        ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน   เกิดจากรถ TAXI ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก๊าซโซลิน
             - เกิดโอโซนที่ปอด จะกัดกร่อนปอด ทำให้ปอดไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้
             - เกิดกรดไนตริกที่ปอดได้ มีคุณสมบัติกัดกร่อนอย่างแรง



ข้อมูลจาก : http://www.thaigoodview.com

                    https://tonsokdokkaew.wordpress.com/
             
                    https://www.meconomics.net/













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น